zbing z. ทำความรู้จักเกมแคสเตอร์ที่มีผู้ติดตามกว่า 6 ล้านคน
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
"เกมแคสเตอร์" เป็นหนึ่งในอาชีพยุคใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตของสื่อโซเชียลทั่วโลก โดยเฉพาะยูทิวบ์
พวกเขาทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์การเล่นเกมให้กับผู้ชมผ่านวิดีโอ ซึ่งปัจจุบัน การแคสต์เกมได้กลายเป็นกิจกรรมใหม่บนโลกออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในเกมแคสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในไทย คือ นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส วัย 27 ปี เจ้าของช่องยูทิวบ์ zbingz ที่มีผู้ติดตามกว่า 6 ล้านคน
นัยรัตน์ หรือที่ผู้ติดตามรุ่นเด็กของเธอเรียกว่า "พี่แป้ง" เล่าให้บีบีซีไทยฟังถึงเบื้องหลังการทำงานของอาชีพเกมแคสเตอร์ ที่มีอะไรมากกว่าการเล่นเกมให้คนอื่นดู
กว่าจะมาเป็นเกมแคสเตอร์
เครื่องเล่นเกมแฟมิค่อน รุ่นยอดนิยมจากญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในห้องรับแขกที่บ้านในวัยเด็ก นอกจากจะเป็นจุดศูนย์กลางที่ทำให้เธอกับพี่ชายและพี่สาวได้มาเล่นด้วยกันแล้ว มันยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอชื่นชอบการเล่นเกม
จากเด็กติดเกม สู่การเป็นเกมแคสเตอร์เงินแสน
"ทุกคนมานั่งออกันเล่นเกม มันทำให้เรารู้เลยว่าชอบเกมมาก ปกติเป็นคนไม่ค่อยคุยกับที่บ้านสักเท่าไหร่ แต่พอมันมีเกมเข้ามาเป็นสื่อกลาง มันทำให้เราสนิทกับคนที่บ้านมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกว่า เกมมันเป็นเหมือนการเชื่อมความสัมพันธ์ของเรา" นัยรัตน์กล่าวกับบีบีซีไทยในห้องทำงานของเธอ
หลังจากเล่นเกมมาตลอดช่วงวัยรุ่น จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าติดเกม เธอตัดสินใจเรียนต่อในสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับมหาวิทยาลัย แต่กลับพบว่ามันไม่เหมาะกับตัวเอง
"พอเรียนแล้วรู้สึกว่ามันไปไม่ไหว เราไม่สามารถเขียนโปรแกรมที่มันลึกได้ ก็เลยรู้สึกเสียใจกับตัวเองหน่อย เราก็เลยผันตัวเองมาลองหาอย่างอื่นทำแล้วกัน"
หลังจากเรียนจบ นัยรัตน์ขอเงินทุนจากครอบครัวมาทดลองทำธุรกิจขายสินค้าและเสื้อผ้าต่าง ๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นช่วงเดียวกับที่เธอหันกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง
ในช่วงนั้นเองที่เธอได้รู้จักกับช่องยูทิวบ์ช่องหนึ่ง ซึ่งผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับเกมและสามารถสร้างรายได้อย่างจริงจัง เธอจึงเริ่มศึกษาด้วยตัวเองว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่เธอจะทำสิ่งนี้เป็นอาชีพ โดยใช้ทักษะการเล่นเกมที่เธอมีอยู่เป็นทุนเดิม
"คือตอนนั้นเราก็คิดว่ามันเป็นอาชีพ แต่ไม่คิดว่าเราจะทำได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ ตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า" เธอกล่าว
ย้อนไปเมื่อปี 2557 ประเทศไทยยังมีเกมแคสเตอร์ในไทยไม่ถึง 100 คน นัยรัตน์จึงคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะเริ่มทดลองทำอาชีพนี้อย่างจริงจัง และในเดือน เม.ย. ปีนั้นเธอได้ลองแคสต์เกมเป็นครั้งแรก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะอธิบายให้พ่อแม่ของเธอเข้าใจ
"พ่อแม่ก็จะมองว่า อ๋อ ไปเล่นเกม ไปทำงานเกี่ยวกับเกม มันก็คือเล่นเกมไม่ใช่หรอ มันจะได้เงินได้ยังไง"
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
ความพยายามครั้งนั้นเหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่เธอจะได้ลองทำธุรกิจของตัวเอง และหากไม่สำเร็จเธอก็วางแผนจะสมัครงานหรือช่วยธุรกิจของครอบครัวตามที่สัญญากับพ่อแม่ และนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เธอมุ่งมั่นจะเป็นเกมแคสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จให้ได้
จากวิดีโอแรก ๆ ที่มีผู้ชมหลักพัน ค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเธอมีผู้ติดตามครบ 1 ล้านคนภายใน 2 ปีแรก
จากเดิมที่เคยใช้ไมโครโฟนที่ซื้อมาในราคา 199 บาท ปัจจุบันเธอมีห้องสตูดิโอพร้อมอุปกรณ์สำหรับผลิตวิดีโอแบบมืออาชีพ ด้วยรายได้จากทั้งค่าโฆษณาบนยูทิวบ์และสปอนเซอร์
มากกว่าการเล่นเกม
เมื่อปีที่ผ่านมา ยูทิวบ์กล่าวว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยกว่า 90% ดูวิดีโอผ่านยูทิวบ์ ขณะที่ผู้ผลิตคอนเทนต์บนยูทิวบ์เป็นอาชีพ หรือ "ยูทูบเบอร์" ที่มีผู้ติดตามมากกว่าเกิน 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 100 ช่องภายในปีเดียวกัน ซึ่งนั่นแสดงถึงการแข่งขันอันดุเดือดของบรรดาผู้ผลิตวิดีโอ
ขณะที่การเล่นเกม เป็นกิจกรรมคลายเครียดสำหรับคนส่วนมาก การเล่นเกมให้คนอื่นดูเป็นอาชีพนั้นไม่ได้ง่ายดายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
หลังจากมีผู้ติดตามมากถึง 1 แสนคน นัยรัตน์ตัดสินใจว่าช่องของเธอจะต้องมีวิดีโอใหม่ทุกวัน นั่นหมายถึงการทำงานตลอดเวลา โดยไม่สามารถให้คนอื่นทำแทนได้
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
ในแต่ละวัน นัยรัตน์จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอัดวิดีโอขณะเล่นเกมอย่างน้อยหนึ่งชิ้น โดยเริ่มจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับเกมจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มอัดวิดีโอซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง และยังไม่นับรวมการตัดต่อซึ่งกินเวลาอีกหลายชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันแฟนของเธอได้เข้ามาช่วยในส่วนนี้
"สัปดาห์หนึ่งต้องมีซัก 1-2 วันที่เราต้องออกไปพักผ่อนบ้าง เพราะการที่เราเครียดอยู่ที่หน้าคอมอย่างเดียว มันก็ไม่ใช่ผลดีต่อเรา มันมีผลต่อสภาพจิตใจด้วย" เธอกล่าว
ทำไมคนเราชอบดูคนอื่นเล่นเกม
นัยรัตน์อธิบายว่าการดูคนอื่นเล่นเกมนั้นเป็นประสบการณ์ที่ต่างจากการเล่นเกมด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมที่ทำให้หลายคนนึกถึงวัยเด็ก และบางครั้งเกมแคสเตอร์ยังสามารถทำให้เกมดูน่าสนุกขึ้นด้วย
"การที่ดูคนแคสต์เกมเล่น นั้นก็คือเหมือนเราได้ดูเพื่อนเล่น เหมือนเวลาตอนเราเด็ก ๆ ที่เราจะมีพี่น้องหรือเพื่อนฝูงที่มานั่งเล่นเกมล้อมวงกันอะไรประมาณนี้ มันจะเป็นอารมณ์แบบนั้น"
นอกจากส่งเสียงว่า "วู้ฮูว" ก่อนเริ่มเกมทุกครั้งแล้ว เอกลักษณ์ของเธอ คือการพากย์เสียงและสวมบทบาทตัวละครตลอดการเล่น นอกจากนี้ยังมีการสร้างเรื่องราวก่อนและหลังการเล่นเกมเพื่อทำให้วิดีโอมีความลื่นไหลมากขึ้น
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
จากวิดีโอกว่า 1,000 ชิ้นที่เธอผลิตขึ้น ผลงานที่เธอประทับใจที่สุดคือการแคสต์เกม ARK: Survival Evolved เกมเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่เธอได้ตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ตัวหนึ่งว่า "บิ๊กบอย" จนกลายเป็นชื่อที่หลายคนที่เล่นเกมนี้รู้จักโดยทั่วไป
ในมุมมองของนัยรัตน์ การแคสต์เกมยังถือเป็นการแบ่งปันประสบการณ์การเล่นเกมที่บางคนอาจไม่สามารถเล่นได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
"น้อง ๆ บางคนมีแค่มือถือ หรือไม่ได้มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง เขาไม่สามารถเขาถึงเกมตรงนั้นได้ เราก็เล่นให้เขาดูได้ หรืออย่างเช่น เกมวีอาร์ (Virtual Reality) ซึ่งต้องมีเครื่องโดยเฉพาะ"
เพศหญิงกับอาชีพเกมแคสเตอร์
ถึงแม้เกมแคสเตอร์ที่ได้รับความนิยมส่วนมากในประเทศไทย มักจะเป็นนักเล่นเกมเพศชาย ที่มีจุดขายเป็นทักษะการเล่นและคำพูดที่รุนแรง แต่นัยรัตน์ไม่เชื่อว่าเรื่องของเพศจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน
"ความท้าทายก็คือ เรามองว่าแต่ก่อน คนจะคิดว่าผู้ชายเล่นเกมเก่งกว่าผู้หญิง แต่ว่าตอนนี้แป้งรู้สึกว่าสังคมมันเปิดกว้างแล้ว ผู้หญิงแต่ละคนเล่นเกมเก่งกันมาก แล้วตัวแป้งเองก็อยากให้ทุกคนเปิดใจ"
เธอกล่าวว่า เดิมทีหลายคนอาจมองว่า ผู้หญิงมักจะต้องเล่นเฉพาะ "เกมแบบน่ารัก ๆ มุ้งมิ้ง ๆ" แต่เธอกล่าวว่าในความจริงแล้ว ผู้หญิงเองก็เล่นเกมอย่างมีทักษะและความเข้าใจไม่ต่างจากผู้ชาย
"อันนี้คือความยาก มีผู้ชายที่แคสต์เกมหลายคนมาก และทุกคนก็ชอบดู แต่พอเราเข้ามาใหม่ เราเป็นผู้หญิง เราต้องหาวิธีทำยังไงก็ได้ ให้คนกลุ่มใหม่ ๆ เขาเปิดใจรับเราได้"
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
บทบาทของเกมต่อชีวิต
การเล่นเกมเป็นอาชีพได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของนัยรัตน์ไปอย่างมากในด้านความรับผิดชอบต่อทั้งตัวเองและผู้ชม โดยเฉพาะเมื่อผู้ติดตามของเธอส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชน เธอจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อหา มากกว่าการเพิ่มยอดคนดูเพียงอย่างเดียว
"พอเราโตขึ้น เรารู้สึกว่ามีคนติดตามเรามากขึ้น น้อง ๆ หนู ๆ อายุน้อย ๆ ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็ก ๆ ดู เราก็รู้สึกว่า ถ้าเราพูดคำหยาบไปเนี่ย ผู้ปกครองอาจไม่ให้เขาดูช่องเราอีกเลย หรือว่าน้อง ๆ อาจเอาเป็นแบบอย่าง"
ปัจจุบัน นอกจากการแคสต์เกมแล้ว ช่องยูทิวบ์ของเธอยังมีวิดีโอประเภทอื่น ๆ เช่น พาไปท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย แต่การเล่นเกมยังคงเป็นกิจกรรมพิเศษสำหรับเธออยู่เหมือนเดิม
"ตัวแป้งเองมีความสุขกับการอยู่ในเกมมาก เพราะว่าเราเหมือนได้ผจญภัย ได้เล่นและพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์ ขณะที่ในชีวิตจริง เราต้องทำงาน เราต้องมีภาระอะไรมากมาย" นัยรัตน์กล่าว
"เกมมันไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี มันเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้โลกผ่อนคลาย ทำให้เรามีสังคมใหม่ ทำให้เราได้เปิดโลกกว้างใหม่ ๆ"
![พี่แป้ง zbing z.](https://ichef.bbci.co.uk/news/660/cpsprodpb/3D6A/production/_103522751_30802905018_29a1f145f8_k.jpg)
"เกมแคสเตอร์" เป็นหนึ่งในอาชีพยุคใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเติบโตของสื่อโซเชียลทั่วโลก โดยเฉพาะยูทิวบ์
พวกเขาทำหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์การเล่นเกมให้กับผู้ชมผ่านวิดีโอ ซึ่งปัจจุบัน การแคสต์เกมได้กลายเป็นกิจกรรมใหม่บนโลกออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในเกมแคสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในไทย คือ นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส วัย 27 ปี เจ้าของช่องยูทิวบ์ zbingz ที่มีผู้ติดตามกว่า 6 ล้านคน
นัยรัตน์ หรือที่ผู้ติดตามรุ่นเด็กของเธอเรียกว่า "พี่แป้ง" เล่าให้บีบีซีไทยฟังถึงเบื้องหลังการทำงานของอาชีพเกมแคสเตอร์ ที่มีอะไรมากกว่าการเล่นเกมให้คนอื่นดู
กว่าจะมาเป็นเกมแคสเตอร์
เครื่องเล่นเกมแฟมิค่อน รุ่นยอดนิยมจากญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในห้องรับแขกที่บ้านในวัยเด็ก นอกจากจะเป็นจุดศูนย์กลางที่ทำให้เธอกับพี่ชายและพี่สาวได้มาเล่นด้วยกันแล้ว มันยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอชื่นชอบการเล่นเกม
![](https://ichef.bbci.co.uk/images/ic/720x405/p06l4sbq.jpg)
"ทุกคนมานั่งออกันเล่นเกม มันทำให้เรารู้เลยว่าชอบเกมมาก ปกติเป็นคนไม่ค่อยคุยกับที่บ้านสักเท่าไหร่ แต่พอมันมีเกมเข้ามาเป็นสื่อกลาง มันทำให้เราสนิทกับคนที่บ้านมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกว่า เกมมันเป็นเหมือนการเชื่อมความสัมพันธ์ของเรา" นัยรัตน์กล่าวกับบีบีซีไทยในห้องทำงานของเธอ
หลังจากเล่นเกมมาตลอดช่วงวัยรุ่น จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าติดเกม เธอตัดสินใจเรียนต่อในสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับมหาวิทยาลัย แต่กลับพบว่ามันไม่เหมาะกับตัวเอง
"พอเรียนแล้วรู้สึกว่ามันไปไม่ไหว เราไม่สามารถเขียนโปรแกรมที่มันลึกได้ ก็เลยรู้สึกเสียใจกับตัวเองหน่อย เราก็เลยผันตัวเองมาลองหาอย่างอื่นทำแล้วกัน"
หลังจากเรียนจบ นัยรัตน์ขอเงินทุนจากครอบครัวมาทดลองทำธุรกิจขายสินค้าและเสื้อผ้าต่าง ๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นช่วงเดียวกับที่เธอหันกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง
ในช่วงนั้นเองที่เธอได้รู้จักกับช่องยูทิวบ์ช่องหนึ่ง ซึ่งผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับเกมและสามารถสร้างรายได้อย่างจริงจัง เธอจึงเริ่มศึกษาด้วยตัวเองว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่เธอจะทำสิ่งนี้เป็นอาชีพ โดยใช้ทักษะการเล่นเกมที่เธอมีอยู่เป็นทุนเดิม
"คือตอนนั้นเราก็คิดว่ามันเป็นอาชีพ แต่ไม่คิดว่าเราจะทำได้ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ ตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าจะทำได้หรือเปล่า" เธอกล่าว
ย้อนไปเมื่อปี 2557 ประเทศไทยยังมีเกมแคสเตอร์ในไทยไม่ถึง 100 คน นัยรัตน์จึงคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะเริ่มทดลองทำอาชีพนี้อย่างจริงจัง และในเดือน เม.ย. ปีนั้นเธอได้ลองแคสต์เกมเป็นครั้งแรก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะอธิบายให้พ่อแม่ของเธอเข้าใจ
"พ่อแม่ก็จะมองว่า อ๋อ ไปเล่นเกม ไปทำงานเกี่ยวกับเกม มันก็คือเล่นเกมไม่ใช่หรอ มันจะได้เงินได้ยังไง"
![zbing z. เกมแคสเตอร์](https://ichef.bbci.co.uk/news/624/cpsprodpb/17B09/production/_103433079_30802897858_423504058c_k.jpg)
ความพยายามครั้งนั้นเหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่เธอจะได้ลองทำธุรกิจของตัวเอง และหากไม่สำเร็จเธอก็วางแผนจะสมัครงานหรือช่วยธุรกิจของครอบครัวตามที่สัญญากับพ่อแม่ และนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เธอมุ่งมั่นจะเป็นเกมแคสเตอร์ที่ประสบความสำเร็จให้ได้
จากวิดีโอแรก ๆ ที่มีผู้ชมหลักพัน ค่อย ๆ เติบโตขึ้นจนเธอมีผู้ติดตามครบ 1 ล้านคนภายใน 2 ปีแรก
จากเดิมที่เคยใช้ไมโครโฟนที่ซื้อมาในราคา 199 บาท ปัจจุบันเธอมีห้องสตูดิโอพร้อมอุปกรณ์สำหรับผลิตวิดีโอแบบมืออาชีพ ด้วยรายได้จากทั้งค่าโฆษณาบนยูทิวบ์และสปอนเซอร์
มากกว่าการเล่นเกม
เมื่อปีที่ผ่านมา ยูทิวบ์กล่าวว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยกว่า 90% ดูวิดีโอผ่านยูทิวบ์ ขณะที่ผู้ผลิตคอนเทนต์บนยูทิวบ์เป็นอาชีพ หรือ "ยูทูบเบอร์" ที่มีผู้ติดตามมากกว่าเกิน 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่า 100 ช่องภายในปีเดียวกัน ซึ่งนั่นแสดงถึงการแข่งขันอันดุเดือดของบรรดาผู้ผลิตวิดีโอ
ขณะที่การเล่นเกม เป็นกิจกรรมคลายเครียดสำหรับคนส่วนมาก การเล่นเกมให้คนอื่นดูเป็นอาชีพนั้นไม่ได้ง่ายดายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
หลังจากมีผู้ติดตามมากถึง 1 แสนคน นัยรัตน์ตัดสินใจว่าช่องของเธอจะต้องมีวิดีโอใหม่ทุกวัน นั่นหมายถึงการทำงานตลอดเวลา โดยไม่สามารถให้คนอื่นทำแทนได้
![zbing z. เกมแคสเตอร์](https://ichef.bbci.co.uk/news/624/cpsprodpb/84F1/production/_103433043_43764416015_bad6cf1d96_k.jpg)
ในแต่ละวัน นัยรัตน์จะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอัดวิดีโอขณะเล่นเกมอย่างน้อยหนึ่งชิ้น โดยเริ่มจากการหาข้อมูลเกี่ยวกับเกมจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มอัดวิดีโอซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง และยังไม่นับรวมการตัดต่อซึ่งกินเวลาอีกหลายชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันแฟนของเธอได้เข้ามาช่วยในส่วนนี้
"สัปดาห์หนึ่งต้องมีซัก 1-2 วันที่เราต้องออกไปพักผ่อนบ้าง เพราะการที่เราเครียดอยู่ที่หน้าคอมอย่างเดียว มันก็ไม่ใช่ผลดีต่อเรา มันมีผลต่อสภาพจิตใจด้วย" เธอกล่าว
ทำไมคนเราชอบดูคนอื่นเล่นเกม
นัยรัตน์อธิบายว่าการดูคนอื่นเล่นเกมนั้นเป็นประสบการณ์ที่ต่างจากการเล่นเกมด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมที่ทำให้หลายคนนึกถึงวัยเด็ก และบางครั้งเกมแคสเตอร์ยังสามารถทำให้เกมดูน่าสนุกขึ้นด้วย
"การที่ดูคนแคสต์เกมเล่น นั้นก็คือเหมือนเราได้ดูเพื่อนเล่น เหมือนเวลาตอนเราเด็ก ๆ ที่เราจะมีพี่น้องหรือเพื่อนฝูงที่มานั่งเล่นเกมล้อมวงกันอะไรประมาณนี้ มันจะเป็นอารมณ์แบบนั้น"
นอกจากส่งเสียงว่า "วู้ฮูว" ก่อนเริ่มเกมทุกครั้งแล้ว เอกลักษณ์ของเธอ คือการพากย์เสียงและสวมบทบาทตัวละครตลอดการเล่น นอกจากนี้ยังมีการสร้างเรื่องราวก่อนและหลังการเล่นเกมเพื่อทำให้วิดีโอมีความลื่นไหลมากขึ้น
![zbing z. เกมแคสเตอร์](https://ichef.bbci.co.uk/news/624/cpsprodpb/AC01/production/_103433044_43764418115_e8331f51ad_k.jpg)
จากวิดีโอกว่า 1,000 ชิ้นที่เธอผลิตขึ้น ผลงานที่เธอประทับใจที่สุดคือการแคสต์เกม ARK: Survival Evolved เกมเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่เธอได้ตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ตัวหนึ่งว่า "บิ๊กบอย" จนกลายเป็นชื่อที่หลายคนที่เล่นเกมนี้รู้จักโดยทั่วไป
ในมุมมองของนัยรัตน์ การแคสต์เกมยังถือเป็นการแบ่งปันประสบการณ์การเล่นเกมที่บางคนอาจไม่สามารถเล่นได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
"น้อง ๆ บางคนมีแค่มือถือ หรือไม่ได้มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง เขาไม่สามารถเขาถึงเกมตรงนั้นได้ เราก็เล่นให้เขาดูได้ หรืออย่างเช่น เกมวีอาร์ (Virtual Reality) ซึ่งต้องมีเครื่องโดยเฉพาะ"
เพศหญิงกับอาชีพเกมแคสเตอร์
ถึงแม้เกมแคสเตอร์ที่ได้รับความนิยมส่วนมากในประเทศไทย มักจะเป็นนักเล่นเกมเพศชาย ที่มีจุดขายเป็นทักษะการเล่นและคำพูดที่รุนแรง แต่นัยรัตน์ไม่เชื่อว่าเรื่องของเพศจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน
"ความท้าทายก็คือ เรามองว่าแต่ก่อน คนจะคิดว่าผู้ชายเล่นเกมเก่งกว่าผู้หญิง แต่ว่าตอนนี้แป้งรู้สึกว่าสังคมมันเปิดกว้างแล้ว ผู้หญิงแต่ละคนเล่นเกมเก่งกันมาก แล้วตัวแป้งเองก็อยากให้ทุกคนเปิดใจ"
เธอกล่าวว่า เดิมทีหลายคนอาจมองว่า ผู้หญิงมักจะต้องเล่นเฉพาะ "เกมแบบน่ารัก ๆ มุ้งมิ้ง ๆ" แต่เธอกล่าวว่าในความจริงแล้ว ผู้หญิงเองก็เล่นเกมอย่างมีทักษะและความเข้าใจไม่ต่างจากผู้ชาย
"อันนี้คือความยาก มีผู้ชายที่แคสต์เกมหลายคนมาก และทุกคนก็ชอบดู แต่พอเราเข้ามาใหม่ เราเป็นผู้หญิง เราต้องหาวิธีทำยังไงก็ได้ ให้คนกลุ่มใหม่ ๆ เขาเปิดใจรับเราได้"
![พี่แป้ง zbing z. เกมแคสเตอร์](https://ichef.bbci.co.uk/news/624/cpsprodpb/0753/production/_103457810_42863512760_b1ea35478d_k.jpg)
บทบาทของเกมต่อชีวิต
การเล่นเกมเป็นอาชีพได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของนัยรัตน์ไปอย่างมากในด้านความรับผิดชอบต่อทั้งตัวเองและผู้ชม โดยเฉพาะเมื่อผู้ติดตามของเธอส่วนมากเป็นเด็กและเยาวชน เธอจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อหา มากกว่าการเพิ่มยอดคนดูเพียงอย่างเดียว
"พอเราโตขึ้น เรารู้สึกว่ามีคนติดตามเรามากขึ้น น้อง ๆ หนู ๆ อายุน้อย ๆ ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็ก ๆ ดู เราก็รู้สึกว่า ถ้าเราพูดคำหยาบไปเนี่ย ผู้ปกครองอาจไม่ให้เขาดูช่องเราอีกเลย หรือว่าน้อง ๆ อาจเอาเป็นแบบอย่าง"
ปัจจุบัน นอกจากการแคสต์เกมแล้ว ช่องยูทิวบ์ของเธอยังมีวิดีโอประเภทอื่น ๆ เช่น พาไปท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย แต่การเล่นเกมยังคงเป็นกิจกรรมพิเศษสำหรับเธออยู่เหมือนเดิม
"ตัวแป้งเองมีความสุขกับการอยู่ในเกมมาก เพราะว่าเราเหมือนได้ผจญภัย ได้เล่นและพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์ ขณะที่ในชีวิตจริง เราต้องทำงาน เราต้องมีภาระอะไรมากมาย" นัยรัตน์กล่าว
"เกมมันไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี มันเป็นแค่เครื่องมือที่ทำให้โลกผ่อนคลาย ทำให้เรามีสังคมใหม่ ทำให้เราได้เปิดโลกกว้างใหม่ ๆ"
OS :เกี่ยวกับแคสเตอร์ บทสัมภาษณ์พี่แป้ง zbing z.
ล้วงความลับหมดเปลือก กับประวัติ พี่แป้ง นัยรัตน์ ธนไวทย์โกเศส เจ้าของ chanel youtube zbing z ที่มีเกือบ 3 ล้าน Subscriber
ชื่อเล่น
ตอบ แป้ง หรือ น้องๆเรียก พี่แป้ง
ตอบ แป้ง หรือ น้องๆเรียก พี่แป้ง
อายุ
ตอบ 25
ตอบ 25
ส่วนสูง
ตอบ 158
ตอบ 158
น้ำหนัก
ตอบ 42
ตอบ 42
จบการศึกษาระดับ
ตอบ ปริญญาตรี
ตอบ ปริญญาตรี
จบการศึกษาจากสถาบัน
ตอบ มหาวิทยาลัยหอการค้า
ตอบ มหาวิทยาลัยหอการค้า
ลักษณะครอบครัว/มีพี่น้องกี่คน
ตอบ พี่แป้งมี น้องสาว 1 คน
ตอบ พี่แป้งมี น้องสาว 1 คน
ภูมิลำเนา/เป็นคนจังหวัดอะไร
ตอบ กรุงเทพ
ตอบ กรุงเทพ
สถานะโสดหรือไม่
ตอบ มีแฟนแล้ว
ตอบ มีแฟนแล้ว
สเปคคนที่ชื่นชอบ
ตอบ พี่แป้งชอบคนที่มีความเป็นผู้ใหญ่ มีความชอบในด้านเดียวกับเรา
ตอบ พี่แป้งชอบคนที่มีความเป็นผู้ใหญ่ มีความชอบในด้านเดียวกับเรา
ทำไมถึงกลายมาเป็น creator
ตอบ จุดเริ่มต้นเริ่มจากตอนนั้นจบมหาลัยใหม่ๆและพี่แป้งยังไม่อยากเริ่มทำงานจริงๆจังๆ บวกกับตัวเองไม่ชอบอยู่ในกรอบอยู่แล้วเลยลอง ศึกษาเรื่องyoutubeดูจนได้พบว่า youtubeเองก็เป็นอาชีพนึงที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เอง และเป็นสิ่งที่พี่แป้งชอบด้วย (เกม)และนั้นเองก็จุดเริ่มต้นของการทำ Youtube ครั้งแรกของพี่แป้ง
ตอบ จุดเริ่มต้นเริ่มจากตอนนั้นจบมหาลัยใหม่ๆและพี่แป้งยังไม่อยากเริ่มทำงานจริงๆจังๆ บวกกับตัวเองไม่ชอบอยู่ในกรอบอยู่แล้วเลยลอง ศึกษาเรื่องyoutubeดูจนได้พบว่า youtubeเองก็เป็นอาชีพนึงที่น่าสนใจและเป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้เอง และเป็นสิ่งที่พี่แป้งชอบด้วย (เกม)และนั้นเองก็จุดเริ่มต้นของการทำ Youtube ครั้งแรกของพี่แป้ง
ความสามารถพิเศษ
ตอบ พากษ์เสียง ร้องเพลง
ตอบ พากษ์เสียง ร้องเพลง
นอกจากเกมแล้วคุณชื่นชอบอะไร
ตอบ พี่แป้งชอบสะสมของจิ๋ว เช่นอาหารย่อส่วนเล็กๆ หรือ อุปกรณ์จิ๋วต่างๆ
ตอบ พี่แป้งชอบสะสมของจิ๋ว เช่นอาหารย่อส่วนเล็กๆ หรือ อุปกรณ์จิ๋วต่างๆ
ผลงานที่ผ่านมา
ตอบ แคสเกม // cover เพลง
ตอบ แคสเกม // cover เพลง
ลักษณะนิสัยของคุณ
ตอบ พี่แป้งเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว ขยันในสิ่งที่ชอบ จะไม่ยอมแพ้แม้ว่าจะเจออุปสรรค
งานอดิเรก
ตอบ ฟังเพลงและเล่นเกมผ่อนคลาย
ตอบ พี่แป้งเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว ขยันในสิ่งที่ชอบ จะไม่ยอมแพ้แม้ว่าจะเจออุปสรรค
งานอดิเรก
ตอบ ฟังเพลงและเล่นเกมผ่อนคลาย
ภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ
ตอบ การ์ตูนwalt disney พี่แป้งชอบทุกเรื่อง
ตอบ การ์ตูนwalt disney พี่แป้งชอบทุกเรื่อง
เพลง/แนวเพลงที่ชื่นชอบ
ตอบ raining racos / แนว R&B
ตอบ raining racos / แนว R&B
ดารา/ศิลปินที่ชื่นชอบ
ตอบ ไม่มี
ตอบ ไม่มี
คุณมีไอดอลในดวงใจคือใคร
ตอบ แม่
ตอบ แม่
กีฬาที่ชื่นชอบ
ตอบ ว่ายน้ำ
ตอบ ว่ายน้ำ
ภาพกีฬาว่ายน้ำที่ พี่แป้ง zbing z ชื่นชอบที่สุด
อะไรในตัวคุณ ที่คนอื่นรู้แล้วต้องตกใจ
ตอบ พี่แป้งไม่เคยคิดว่าตัวเองจะพากษ์เสียงได้หลายเสียง แต่กลับทำได้เพราะแป้งดูการ์ตูนและฝึกทำตามการ์ตูน
ตอบ พี่แป้งไม่เคยคิดว่าตัวเองจะพากษ์เสียงได้หลายเสียง แต่กลับทำได้เพราะแป้งดูการ์ตูนและฝึกทำตามการ์ตูน
สิ่งที่ผิดหวังมากที่สุดในชีวิต
ตอบ เคยดื้อจนทำให้ต้องทะเลาะกับแม่ครั้งใหญ่ จนแม่ร้องไห้ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พี่แป้งจะไม่ทำแบบนั้นแน่นอน
ตอบ เคยดื้อจนทำให้ต้องทะเลาะกับแม่ครั้งใหญ่ จนแม่ร้องไห้ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พี่แป้งจะไม่ทำแบบนั้นแน่นอน
สิ่งที่ประทับใจที่สุดในชีวิต
ตอบ การได้ทำ youtube และมีคนติดตามมากมาย รวมถึงน้องๆแฟนคลับที่เป็นกำลังใจ จากคนธรรมดากลับกลายเป็นไอดอลของน้องๆ เป็นเรื่องที่สุดจะคาดฝันจริงๆ
ตอบ การได้ทำ youtube และมีคนติดตามมากมาย รวมถึงน้องๆแฟนคลับที่เป็นกำลังใจ จากคนธรรมดากลับกลายเป็นไอดอลของน้องๆ เป็นเรื่องที่สุดจะคาดฝันจริงๆ
แรงบันดาลใจในการเป็น Creator
ตอบ แรงบันดาลใจของพี่แป้งคือการที่อยากจะทำให้ครอบครัวสบายด้วยมือของพี่แป้งเอง และมันก็เป็นจุดที่ทำให้พี่แป้งไม่เคยท้อ แม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแต่ พี่แป้งอยากให้ทุกคนมีความสุขกับคลิปที่ทำ และ สิ่งนั้นก็ทำให้แป้งมีความสุขเช่นกัน ครอบครัวและแฟนคลับทุกคนคือแรงบันดาลใจของพี่แป้งคะ
ตอบ แรงบันดาลใจของพี่แป้งคือการที่อยากจะทำให้ครอบครัวสบายด้วยมือของพี่แป้งเอง และมันก็เป็นจุดที่ทำให้พี่แป้งไม่เคยท้อ แม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแต่ พี่แป้งอยากให้ทุกคนมีความสุขกับคลิปที่ทำ และ สิ่งนั้นก็ทำให้แป้งมีความสุขเช่นกัน ครอบครัวและแฟนคลับทุกคนคือแรงบันดาลใจของพี่แป้งคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น