วิธีแก้ อาการสะอึก ได้ผลมากๆ
เรื่องมีอยู่ว่า ผมดื่มเบียร์กับเพื่อน สงสัยจะดื่มมากไป หรือดื่มผิดจังหวะอะไรซักอย่าง
...... มันเกิดอาการสะอึกขึ้นมา ทำอย่างไรก็ไม่หายซักที
ขอคำปรึกษาจากเพื่อนในเฟสบุ๊ค มีคนแนะนำทำวิธีโน่น นี่ นั่น ลองทำแล้วแต่แล้วก็ไม่ได้ผลซักที
ผมเลยเปิดหาวิธีการในอินเตอร์เน็ต และได้วิธีการสุดยอด แบบฉบับแผนจีน มาจากกูรูท่านนึง
วิธีการง่ายๆ มากๆ แถมทำให้ โล่งสบายอีกด้วย ใครนอนไม่หลับน่าลองนำไปใช้ครับ
![การกดจุด](https://www.bloggang.com/data/k/kengvacharach/picture/1387098790.jpg)
บนใบหน้าของเรามี จุดต่างๆ มากมาย อันนี้เราจะให้ ดูที่ จ่านจู้ (อยู่ตรงตำแหน่งหัวคิ้ว)
วิธีการคือ
ให้นอนหงาย กรณีทำด้วยตัวเอง ให้เอานิ้วหัวแม่มื้อทั้งสองข้าง แตะที่จุดจ่านจู้ (หัวคิ้ว) ส่วนอีก 4 นิ้ว ให้จับที่ศรีษะของตัวเอง (ลักษณะการจับ เหมือนเวลา กุมขมับ แต่ให้กางนิ้วหัวแม่มือเพิ่มขึ้น)
เริ่มต้น ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง แตะ แล้วนวดคลึงเป็นวงกลม ตำแหน่งเมื่อนิ้วหัวแม่มือกดลงไป จะอยู่ใกล้ๆ กับเบ้าตา ของคุณเอง
กดวนๆ คลึงๆ ไปเรื่อยๆ คุณจะรู้สึกโล่งจมูกมาก และจะรู้สึกสบายขึ้น หากมีอาการปวดหัว ก็ให้นวดคลึงไปเรื่อยๆ
หลังจากลองทำแล้ว ประมาณ 5 นาที ......ปรากฏว่าได้ผลจริงๆ ครับ หายทันทีเลย
ใครเกิดอาการนี้ ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ ^^
****************
ข้อมูลเสริม
****************
สาเหตุของการ "สะอึก"
เชื่อกันว่าเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร หรือสูบบุหรี่มากเกินไป ตลอดจนการบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
นอกจากนี้ ยังเกิดจากการที่มีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยงกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เกิดเป็นเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก
ด้านความผิดปกติในบริเวณคอ และหน้าอก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสะอึกได้เช่นกัน เช่น เป็นก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นต้น อีกทั้งอาการสะอึกยังขึ้นอยู่กับอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น หรือ เกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactams, macrolides, fluoroquinolone หรือแอลกอฮอล์
...... มันเกิดอาการสะอึกขึ้นมา ทำอย่างไรก็ไม่หายซักที
ขอคำปรึกษาจากเพื่อนในเฟสบุ๊ค มีคนแนะนำทำวิธีโน่น นี่ นั่น ลองทำแล้วแต่แล้วก็ไม่ได้ผลซักที
ผมเลยเปิดหาวิธีการในอินเตอร์เน็ต และได้วิธีการสุดยอด แบบฉบับแผนจีน มาจากกูรูท่านนึง
วิธีการง่ายๆ มากๆ แถมทำให้ โล่งสบายอีกด้วย ใครนอนไม่หลับน่าลองนำไปใช้ครับ
![การกดจุด](https://www.bloggang.com/data/k/kengvacharach/picture/1387098790.jpg)
บนใบหน้าของเรามี จุดต่างๆ มากมาย อันนี้เราจะให้ ดูที่ จ่านจู้ (อยู่ตรงตำแหน่งหัวคิ้ว)
วิธีการคือ
ให้นอนหงาย กรณีทำด้วยตัวเอง ให้เอานิ้วหัวแม่มื้อทั้งสองข้าง แตะที่จุดจ่านจู้ (หัวคิ้ว) ส่วนอีก 4 นิ้ว ให้จับที่ศรีษะของตัวเอง (ลักษณะการจับ เหมือนเวลา กุมขมับ แต่ให้กางนิ้วหัวแม่มือเพิ่มขึ้น)
เริ่มต้น ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง แตะ แล้วนวดคลึงเป็นวงกลม ตำแหน่งเมื่อนิ้วหัวแม่มือกดลงไป จะอยู่ใกล้ๆ กับเบ้าตา ของคุณเอง
กดวนๆ คลึงๆ ไปเรื่อยๆ คุณจะรู้สึกโล่งจมูกมาก และจะรู้สึกสบายขึ้น หากมีอาการปวดหัว ก็ให้นวดคลึงไปเรื่อยๆ
หลังจากลองทำแล้ว ประมาณ 5 นาที ......ปรากฏว่าได้ผลจริงๆ ครับ หายทันทีเลย
ใครเกิดอาการนี้ ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ ^^
****************
ข้อมูลเสริม
****************
สาเหตุของการ "สะอึก"
เชื่อกันว่าเกิดจากการรับประทานอาหารมากเกิน เร็วเกินไป บางคนอาจจะมีความตึงเครียดมากไป บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร หรือสูบบุหรี่มากเกินไป ตลอดจนการบริโภคอาหารที่ทำให้มีก๊าซมากก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้
นอกจากนี้ ยังเกิดจากการที่มีอะไรไปรบกวนประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะอาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยงกะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง เช่น เกิดเป็นเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มูลเหตุเหล่านี้ทำให้ กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอยซึ่งปกติคอยกั้นไม่ ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อกะบังลมหดอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอหอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน จึงเกิดเสียงสะอึก
ด้านความผิดปกติในบริเวณคอ และหน้าอก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสะอึกได้เช่นกัน เช่น เป็นก้อนเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต หรือเกิดจากโรคในช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรือภายหลังการผ่าตัดช่องท้อง เป็นต้น อีกทั้งอาการสะอึกยังขึ้นอยู่กับอารมณ์ เช่น ความรู้สึกช็อก ความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น หรือ เกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactams, macrolides, fluoroquinolone หรือแอลกอฮอล์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น